ประวัติพระบรมธาตุไชยา

สารบัญ

ประวัติพระบรมธาตุไชยา วัดพระบรมธาตุไชยาราชวรวิหาร เป็นพระอารามหลวงชั้นเอก ชนิดราชวรวิหาร[1] สังกัดคณะสงฆ์มหานิกาย ตั้งอยู่เลขที่ 50 ถนนรักษ์นรกิจ หมู่ 3 ตำบลเวียง อำเภอไชยา จังหวัดสุราษฎร์ธานี พระบรมธาตุไชยาเป็นสถานที่บรรจุพระบรมสารีริกธาตุของสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า นับเป็นปูชนียสถานสำคัญคู่บ้านคู่เมือง ของจังหวัดสุราษฎร์ธานี และเป็นหนึ่งในสามของ โบราณสถานอันศักดิ์สิทธิ์ที่เคารพบูชาของภาคใต้ ได้แก่ พระบรมธาตุไชยา จังหวัดสุราษฎร์ธานี เจดีย์พระมหาธาตุวัดพระมหาธาตุวรมหาวิหาร จังหวัดนครศรีธรรมราช และพระพุทธไสยาสน์ในถ้ำคูหาภิมุข บริเวณวัดคูหาภิมุข จังหวัดยะลา

วัดพระบรมธาตุไชยา เป็นที่ตั้งของโรงเรียนวัดพระบรมธาตุไชยา โรงเรียนสงฆ์ และ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ไชยา

ลำดับการสถาปนาเป็นพระอารามหลวง

  • ระดับแรก(เริ่มต้น) วัดพระธาตุไชยา(วัดราษฎร์)
  • ระดับที่สอง วัดพระบรมธาตุไชยา พระอารมหลวง(พระอารามหลวงชั้นตรี ชนิดสามัญ)
  • ระดับที่สาม วัดพระบรมธาตุไชยาราชวรวิหาร(พระอารามหลวงชั้นเอก ชนิดราชวรวิหาร)

ข้อมูล ประวัติพระบรมธาตุไชยา

  • ประวัติพระบรมธาตุไชยา พุทธศตวรรษที่ 13 – พุทธศตวรรษที่ 14 ในสมัยศรีวิชัย ได้สร้างวัดพระบรมธาตุไชยา วัดมี โบสถ์ หรือพระอุโบสถ หันไปทางทิศตะวันตก
  • วัดพระบรมธาตุไชยาราชวรวิหาร เป็นโบราณสถาน รอบองค์พระธาตุมีเจดีย์เล็ก 4 ทิศ ล้อมรอบด้วยวิหารคด ซึ่งประดิษฐานพระพุทธรูปเก่าแก่ขนาดต่างๆ โดยรอบทั้ง 4 ด้าน
  • พระบรมธาตุไชยา เป็นสถานที่บรรจุพระบรมสารีริกธาตุของสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
  • ภาพเจดีย์พระบรมธาตุ เป็นสัญลักษณ์ในดวงตราประจำจังหวัดสุราษฎร์ธานี และเป็นสัญลักษณ์ในธงประจำกองลูกเสือจังหวัดสุราษฎร์ธานี
  • เจดีย์พระบรมธาตุมีความสูงจากฐานใต้ดินถึงยอด 24 เมตร
  • สมัยรัชกาลที่ 5 ได้บูรณปฏิสังขรณ์ยอดเจดีย์ที่เดิมหักลงมาถึงคอระฆัง
  • พระพุทธรูปทำด้วยศิลา สูง 104 เซนติเมตร ปางสมาธิประทับอยู่บนฐานบัว มีอายุอยู่ประมาณพุทธศตวรรษที่ 11 – 12 แสดงถึงอิทธิพลศิลปะอินเดีย แบบราชวงศ์คุปตะ สกุลช่างสารนาถ
  • พุทธศตวรรษที่ 14 ได้สร้างพระโพธิสัตว์อวโลกิเตศวร (พระโพธิสัตว์ปัทมปาณิ) สองกรสำริด ประติมากรรมในชวา (ประเทศอินโดนีเซีย) ภาคกลาง จารึกหลักที่ 23 เกี่ยวกับความสัมพันธ์ทางสกุลวงศ์ของกษัตริย์แห่งศรีวิชัย (ไชยา) และราชวงศ์ไศเลนทรในชวาภาคกลาง
  • พุทธศตวรรษที่ 15 ได้สร้างพระโพธสัตว์อวโลกิเตศวรสองกรศิลา ศิลปะจามพุทธ
  • สมัยอยุธยา ได้สร้างพระพุทธรูปศิลาทราย ศิลปะอยุธยา สกุลช่างไชยา

ความสำคัญ

ความสำคัญของวัดพระบรมธาตุไชยาอยู่ที่พระบรมธาตุไชยาซึ่งเป็นที่บรรจุพระบรมสารีริกธาตุของสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า อันเป็นที่เคารพสักการะของพุทธศาสนิกชนและเป็นพุทธสถานเพียงแห่งเดียวในประเทศไทย ที่ยังคงรักษาความเป็นเอกลักษณ์ของศิลปกรรมสมัยศรีวิชัยไว้ได้อย่างสมบูรณ์แบบ วัดพระบรมธาตุไชยา จึงเป็นวัดที่มีสำคัญคู่บ้านคู่เมืองชาวไชยาและสุราษฎร์ธานีมานานนับแต่โบราณกาล พระเจดีย์พระบรมธาตุไชยาเป็นสถาปัตยกรรมแบบศรีวิชัยเป็นองค์เดียวที่ยังอยู่ในสภาพที่ดีที่สุด สันนิษฐานว่าสร้างขึ้นประมาณพุทธศตวรรษที่ ๑๓-๑๔ สมัยศรีวิชัยกำลังเจริญรุ่งเรืองสูงสุดจากคำบอกเล่าของชาวเมืองไชยามีตำนานที่เล่าขานเกี่ยวกับเจดีย์พระบรมธาตุไชยาว่าครั้งหนึ่งมีพี่น้องชาวอินเดีย ๒ คนชื่อปะหมอกับปะหมัน ทั้งสองเดินทางโดยเรือใบเข้ามาถึงเมืองไชยา ได้พาบริวารขึ้นบกที่บ้านนาค่ายตรงวัดหน้าเมืองในตำบลเลเม็ด เจ้าเมืองมอบให้ปะหมอซึ่งเป็นนายช่างมีความเชี่ยวชาญการก่อสร้างสร้างเจดีย์พระบรมธาตุไชยา ครั้นสร้างเสร็จแล้วซึ่งปรากฎว่ามีความสวยงามมาก หลังจากนั้นเจ้าเมืองก็ได้สั่งให้ตัดมือตัดเท้าของปะหมอเสีย เพื่อมิให้ไปสร้างเจดีย์ที่งดงามเช่นนี้ให้ผู้ใดอีกปะหมอทนบาดพิษบาดแผลไม่ได้ถึงแก่ความตายในเวลาต่อมา เจ้าเมืองได้สั่งให้หล่อรูปพระโพธิสัตว์อวโลกิเตศวรไว้เป็นเครื่องหมายแทนตัวปะหมอ ส่วนน้องชายที่ชื่อปะหมันได้หนีไปครองเกาะพัดหมันและได้ตั้งรกรากอยู่ที่นั้นจนกระทั่งสิ้นชีวิต

จากหลักฐานที่ยืนยันถึงอาณาจักรศรีวิชัยอายุไม่ต่ำกว่า ๑,๒๐๐ ปี โดยที่จังหวัดสุราษฎร์ธานีได้ใช้ภาพของเจดีย์พระบรมธาตุนี้เป็นสัญลักษณ์ในดวงตราประจำจังหวัด และเป็นสัญลักษณ์ในธงประจำกองและผ้าพันคอลูกเสือด้วย ซึ่งถือกันว่าถ้าใครไปเที่ยวจังหวัดสุราษฎร์ธานี หากไม่ได้ไปนมัสการพระบรมธาตุไชยาแล้ว ก็เหมือนกับยังไปไม่ถึงจังหวัดสุราษฎร์ธานี ส่วนทางด้านสถาปัตยกรรมและศิลปกรรมนั้น มีลักษณะเป็นเจดีย์องค์เดียวในปัจจุบันที่อยู่ในสภาพสมบูรณ์ที่สุด โดยองค์เจดีย์พระบรมธาตุมีความสูงจากฐานใต้ดินถึงยอด ๒๔ เมตร ตั้งอยู่บนฐานสี่เหลี่ยมสูงย่อเก็จ ขนาดฐานวัดจากทิศตะวันตกยาว ๑๓ เมตร สำหรับฐานเดิมนี้ได้สร้างก่อนที่ที่พระชยาภิวัฒน์ (หนู ติสโส) จะทำบูรณะใหม่ (มีน้ำล้อม) ซึ่งตั้งอยู่บนผิวดินมีระดับต่ำกว่าพื้นดินปัจจุบัน ต่อมาทางวัดได้ขุดบริเวณโดยรอบทำฐานเป็นเสมือนสระกว้างประมาณ ๕๐ เซนติเมตร ลึกประมาณ ๖๐-๗๐ เซนติเมตร เพื่อให้ฐานเดิมมีน้ำขังอยู่รอบฐานตลอดปีในหน้าแล้งบางปีรอบ ๆ ฐานเจดีย์พระบรมธาตุจะแห้งแต่จะมีตาน้ำพุพุ่งขึ้นมา ซึ่งชาวบ้านถือว่าเป็นน้ำศักดิ์สิทธิ์สามารถแก้โรคภัยต่าง ๆ ได้ ต่อมาทางวัดได้ใช้ปูนซีเมนต์ปิดตาน้ำเสีย องค์เจดีย์พระบรมธาตุเป็นทรงสี่เหลี่ยมจตุรมุขย่อ มุขด้านหน้าหรือมุขด้านตะวันออก มีบันไดขึ้นสำหรับให้ประชาชนเข้าไปนมัสการพระพุทธรูปภายในเจดีย์ เมื่อเข้าไปภายในจะเห็นองค์พระเจดีย์หลวงเห็นผนังก่ออิฐแบบไม่สอปูนลดหลั่นกันขึ้นไปถึงยอดมุขอีก ๓ ด้าน ซึ่งทึบทั้งหมด ที่มุมฐานทักษิณมีเจดีย์ทิศ หรือเจดีย์บริวารตั้งซ้อนอยู่ด้วยหลังคาทำเป็น ๓ ชั้นลดหลั่นกันขึ้นไป แต่ละชั้นประดับรูปวงโค้งขนาดเล็ก และสถูปจำลองรวม ๒๔ องค์ เหนือขึ้นไปเป็นส่วนยอดซึ่งได้รับการซ่อมแซมครั้งใหญ่ในรัชกาลที่ ๕ เป็นการบูรณะปฏิสังขรณ์ยอดเจดีย์ที่เดิมหักลงมาถึงคอระฆังทำเสียหายมากรวมทั้งฐานเจดีย์ที่จมอยู่ใต้ดินได้ขุดดินโดยรอบฐานพระเจดีย์

ตลอดถึงได้ทำลายรากไม้ในบริเวณนั้นแล้วทำการก่ออิฐถือปูนตลอด เพื่อให้เห็นฐานเดิมของเจดีย์ที่ชัดเจน ในส่วนลวดลายประดับเจดีย์ก็ได้มีการสร้างเพิ่มเติมใหม่ด้วยปูนปั้นเกือบทั้งหมด เป็นลายปั้นใหม่ตามความคิดของผู้บูรณะ มิได้อาศัยหลักทางโบราณคดี รวมถึงลานระหว่างเจดีย์และพระระเบียงเปลี่ยนจากอิฐหน้าวัวเป็นกระเบื้องซีเมนต์ ต่อในสมัยของรัชกาลที่ ๙ (พ.ศ. ๒๕๒๑-๒๕๒๒) องค์เจดีย์ก็ได้รับการบูรณะปฎิสังขรณ์ใหญ่อีกครั้ง โดยการบูรณะในครั้งนี้เป็นการซ่อมแซมของเก่าที่มีอยู่เดิมให้คงสภาพดีปูชนียสถานสำคัญคู่บ้านคู่เมืองของจังหวัดสุราษฎร์ธานี พระบรมธาตุไชยเป็นพุทธสถานเพียงแห่งเดียวในประเทศไทยที่ยังคงรักษาความเป็นเอกลักษณ์ของช่างศิลปกรรมสมัยศรีวิชัยไว้ได้สมบูรณ์ วัดพระบรมธาตุไชยาจึงเป็นวัดที่มีความสำคัญคู่บ้านคู่เมืองของชาวไชยาและสุราษฎร์ธานีมานานนับแต่โบราณกาล ซึ่งรัฐบาลให้ความสำคัญแก่วัดได้ประกาศขึ้นทะเบียนเป็นโบราณสถานสำคัญของชาติและยกฐานะวัดเป็นพระอารามหลวง และเป็น ๑ ใน ๓ ของโบราณสถานอันศักดิ์สิทธิ์ที่เคารพบูชาของภาคใต้อันประกอบด้วย พระบรมธาตุไชยา จังหวัดสุราษฎร์ธานี พระบรมธาตุเจดีย์ วัดพระมหาธาตุวรมหาวิหาร จังหวัดนครศรีธรรมราชและพระพุทธไสยาสน์ใน ถ้ำคูหาภิมุข บริเวณวัดคูหาภิมุข จังหวัดยะลา เจดีย์พระบรมธาตุไชยาเป็นสถาปัตยกรรมแบบศรีวิชัยองค์เดียว ที่ยังอยู่ในสภาพที่ดีที่สุดสันนิษฐานว่าสร้างขึ้นประมาณพุทธศตวรรษที่ ๑๓-๑๔ ไม่ปรากฎประวัติการสร้างและผู้สร้าง เข้าใจว่าสร้างในขณะที่เมืองไชยา สมัยศรีวิชัยกำลังเจริญรุ่งเรืองสูงสุด

เจดีย์พระบรมธาตุนี้เป็นสัญลักษณ์ในดวงตราประจำจังหวัด และเป็นสัญลักษณ์ในธงประจำกองและผ้าพันคอลูกเสือด้วย ซึ่งถือกันว่าถ้าใครไปเที่ยวจังหวัดสุราษฎร์ธานี หากไม่ได้ไปนมัสการพระบรมธาตุไชยาแล้ว ก็เหมือนกับยังไปไม่ถึงจังหวัดสุราษฎร์ธานี ในปัจจุบัน (๒๕๖๑) ทางวัดและราชการได้บูรณะองค์เจดีย์อีกครั้งหนึ่งเพื่อให้มีความสวยงามและรักษาเอกลักษณ์ของเก่าที่มีอยู่เดิมให้คงสภาพดี เพื่อไว้เป็นปูชนียสถานที่สำคัญของชาติสืบต่อไป มีพระพุทธรูปศิลาทรายแดง ๓ องค์ ประดิษฐานอยู่กลางแจ้งบนลานภายในกำแพงแก้ว ด้านทิศตะวันออกเฉียงเหนือ เป็นพระพุทธรูปที่สร้างในสมัยอยุธยา โดยฝีมือสกุลช่างไชยา นอกจากนั้นวัดพระบรมธาตุไชยาเป็นที่ตั้งของโรงเรียนสงฆ์ โรงเรียนวัดพระบรมธาตุไชยาและพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติไชยาพระเจดีย์เป็นโบราณสถานศักดิ์สิทธิ์ ที่ได้รับการเคารพจากชาวบ้านทั่วไป วัดพระบรมธาตุไชยา มีเนื้อที่ ๔๒ ไร่ ๑ งาน ด้านหน้าวัดหันไปทางทิศเหนือ จดถนนรักษ์นรกิจ ด้านทิศใต้และทิศตะวันตกจดคลองไชยา ทิศตะวันออกจดถนนหลวงอาณาเขตแบ่งออกเป็น ๒ ส่วน คือเขตพุทธาวาส และเขตสังฆาวาส

  • เขตพุทธาวาส มีกำแพงล้อมรอบทั้ง ๔ ด้าน ด้านทิศเหนือและทิศใต้ มีแพงยาว ๑๒๗ เมตร ทิศตะวันออกและทิศตะวันตกมีกำแพงยาว ๖๖ เมตร ภายในเขตพุทธาวาส ประกอบด้วยองค์พระบรมธาตุเจดีย์ไชยาพระวิหารคดหรือระเบียงพระเวียน พระเจดีย์ พระอุโบสถ พระวิหารหลวง พระพุทธรูปศิลาทรายแดง ต้นพระศรีมหาโพธิ์และพลับพลาที่ประทับ
  • เขตสังฆาวาส อยู่ทางด้านทิศใต้และทิศตะวันตก ประกอบด้วยกุฏิที่อยู่อาศัยของพระสงฆ์ กุฏิวิปัสสนากรรมฐาน ศาลาการเปรียญ โรงเรียนปริยัติธรรม ศาลาบูรพาจารย์ ห้องสมุด และหอฉัน ด้านทิศตะวันตกเฉียงเหนือ มีโรงเรียนวัดพระบรมธาตุไชยาสอนเด็กชั้นเล็ก ถึงชั้นประถมปีที่ ๖ ด้านทิศตะวันออก มีพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติไชยาซึ่งเป็นที่เก็บโบราณวัตถุไว้มากมาย

วัดพระบรมธาตุไชยาราชวรวิหาร ตั้งอยู่เลขที่ ๕๐ ลเวียง อำเภอไชยา จังหวัดสุราษฎร์ธานี สังกัดคณะสงฆ์มหานิกาย ที่ดินตั้งวัดมีเนื้อที่ ๔๒ ไร่ ๑ งาน อาณาเขตทิศเหนือจดถนนรักษ์นะกิจ ทิศไต้จดคลองไชยา ทิศตะวันออกจดถนนสาธารณะ ทิศตะวันตกจดคลองไชยา มีที่ธรณีสงห์ จำนวน ๔ แปลง เนื้อที่ ๕ ไร่ ๒ งาน ๕๒ ตารางวา โฉนดที่ดินเลขที่ ๖๕๐๓ ๑๖๖๐๔ ๑๖๖๐๕ และ ๑๖๖๐๕ อาคารเสนาสนะ ประกอบด้วยอุโบสถ กว้าง ๑๓.๑๕ เมตร ยาว ๑๘.๘๐ เมตร สร้างเมื่อ พ.ศ. ๒๔๙๘ เป็นอาคารคอนกรีตเสริมเหล็ก ศาลาการเปรียญ กว้าง ๑๕.๒๐ เมตร ยาว ๓๐.๒๐ เมตร สร้างเมื่อ พ.ศ. ๒๕๒๕ เป็นอาคารคอนกรีตทรงไทย ๒ ชั้น กุฏิสงฆ์ จำนวน ๒๒ หลัง เป็นอาคารไม้ ๘ หลัง ครึ่งตึกครึ่งไม้ ๑๓ หลัง และตึก ๑ หลัง วิหาร กว้าง ๘.๗๐ เมตร ยาว ๒๙.๘๐ เมตร เป็นอาคารคอนกรี่ตเสริมเหล็ก สร้างเมื่อ พ.ศ. ๒๕๑๒ ศาลาอเนกประสงค์ กว้าง ๑๐.๕๐ เมตร ยาว ๓๔ เมตร สร้างเมื่อ พ.ศ. ๒๕๓๙ ศาลาบำเพ็ญกุศล จำนวน ๑ หลัง สร้างด้วยคอนกรีตเสริมเหล็ก โรงเรียนปริยัติธรรม กวาง ๑๐.๒๐ เมตร ยาว ๑๘.๓๐ เมตร เป็นอาคารครึ่งตึกครึ่งไม้ ทรงไทย ๒ ชั้น สร้างเมื่อ พ.ศ. ๒๔๗๒ นอกจากนี้มี หอระฆังหอกลอง โรงครัว เรือนเก็บพัสดุ เรือนรับรอง กุฏิเจ้าอาวาส ศาลารับเสด็จ หอสมุด และศาลาบูรพาจารย์ ปูชนียะวัตถุพระประธานประจำอุโบสถ ปางมารวิชัย ขนาดหน้าตักกว้าง ๙๐ นิ้ว สูง ๑๑๒ นิ้ว สร้างเมื่อสมัยอยุธยา พระประธานประจำศาลาการเปรียญ ปางมารวิชัย ขนาดหน้าตักกว้าง ๓๓ นิ้ว สูง ๓๙ นิ้ว สร้างเมื่อ พ.ศ. ๒๕๒๒ เจดีย์พระบรมธาตุไชยา สูง ๑๘ เมตร ฐานกว้าง ๑๓ เมตร ยาว ๑๘ เมตร เจดีย์องค์ใหญ่ สูง ๑๕๓ นิ้ว พระพุทธรูปประจำวิหาร ปางมารวิชัย ขนาดหน้าตกกว้าง ๘๒ นิ้ว สูง ๑๐๘ นิ้ว พระพุทธรูปปางมารวิชัย ๓ องค์ ขนาดหน้าตักกว้าง ๗๒ นิ้ว ๖๘ นิ้ว ๘๒ นิ้ว

วัดพระบรมธาตุไชยา เป็นพระอารามหลวงชั้นเอก ชนิดราชวรวิหาร ตั้งเมื่อ พ.ศ.๑๕๒๕ เดิมเป็นวัดราษฎร์ มีชื่อเรียกกันทั่่วไปว่าา “วัดพระธาตุไชยา” ไม่ปรากฎหลักฐานนามผู้สร้าง เป็นวัดเก่าแก่สันนิษฐานจากโบราณสถานและโบราณวัตถุ ที่ยังคงเหลืออยู่ คือองค์เจดีย์พระบรมธาตุ พระพุทธรูปสมัยต่าง ๆ และพระโพธิสัตว์อวโลกิเตศวรหลายองค์ที่พบสันนิษฐานว่าวัดพระบรมธาตุไชยาได้สร้างขึ้นในสมัยศรีวิชัยกำลังเจริญรุ่งเรือง เป็นศูนย์กลางปกครองและพุทธศาสนา ประมาณพุุทธศตวรรษที่ ๑๓-๑๔ ผู้สร้างอาจเป็นเจ้าผู้ครองนคร บริเวณดินแดนนี้เคยนับถือศาสนาพราหมณ์ มีซากโบราณสถานและเทวสถาน ตลอดจน เทวรูปโพธิสัตว์อวโลกิเตศวรแปดกร เมื่อศาสนาพุทธลัทธิมหายานแพร่หลายเข้ามา ศาสนาพรหมณ์ก็เสื่อมไป วัดพระบรมธาตุไชยาจึงเป็นวัดลัทธิมหายาน ต่อมาในปี พ.ศ. ๑๘๐๐ พระพุทธศาสนาลัทธิเถรวาทแบบลังกาวงศ์เผยแพร่เข้ามาก็ได้นับถือลัทธิดังกล่าวดังปรากฎหลักฐานจากใบพัทธสีมาเขตวิสุงคามสีมา ซึ่งเป็นใบพัทธสีมาคู่ แสดงว่าได้มีการผูกพัทธสีมา ๒ ครั้ง ครั้งแรกแบบมหายาน ครั้งที่สองแบบเถรวาทลังกาวงศ์ วัดพระบรมธาตุไชยาฯได้เจริญรุ่งเรืองและเสื่อมไปตามกลาลสมัยของเจ้าผู้ครองนคร ได้มีการบูรณปฏิสังขรณ์องค์พระเจดีย์บรมธาตุหลายครั้ง วัดพระบรมธาตุไชยาฯ ได้รับการปฏิสังขรณ์เมื่อ ร.ศ. ๑๐๗ (พ.ศ. ๒๔๑๓) เมื่อสมเด็จพระสมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรรส เสด็จประพาสทะเลตะวันตก คือหัวเมืองปักษ์ใต้ฝั่งตะวันตกได้เสด็จประพาศเมืองไชยาและไปนมัสการพระบรมธาตุไชยาด้วยในปี พ.ศ. ๒๔๓๙ ได้ทำการบูรณปฏิสังขรณ์ครั้งใหญ่ โดยพระชยาภิวัฒน์สุภัทรสังฆปาโมกข์ ประวัติพระบรมธาตุไชยา

บทความที่เกี่ยวข้อง